-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 358 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สตรอเบอรี่




หน้า: 2/3



การผลิตไหลสตรอเบอรี่คุณภาพดี ที่อำเภอนาแห้ว จ.เลย

สตรอเบอรี่เป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสำหรับเกษตรกรที่สูง เพราะให้ผลตอบแทนสูงประมาณ 43,000 บาทต่อไร่ และเกษตรกรที่เกี่ยวข้องกับการปลูกสตรอเบอรี่มีงานทำตลอดทั้งปี โดยช่วงเดือนมกราคมถึงสิงหาคม เป็นช่วงการเตรียมไหล (ต้นพันธุ์) สำหรับปลูกและจำหน่ายให้กับเกษตรกรด้วยกันและช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนมีนาคมของปีถัดไป เป็นช่วงการปลูกเพื่อเก็บผลสตรอเบอรี่จำหน่าย ปัญหาสำคัญของการปลูกสตรอเบอรี่คือการขาดแคลนต้นไหลคุณภาพดี ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่นการระบาดของโรคและแมลง การใช้สารเคมี การปลูกซ่อมแซม รวมทั้งให้ผลผลิตต่อไร่ต่ำและไม่มีคุณภาพมูลนิธิโครงการหลวง ร่วมกับ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)สนับสนุน ดร.ปราสาทพร สมิตะมาน จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศึกษาและรวบรวมพันธุ์สตรอเบอรี่เพื่อปรับปรุงพันธุ์ใหม่ทดแทนพันธุ์เดิม และพัฒนาการผลิตต้นพันธุ์สตรอเบอรี่ปลอดโรคในเชิงการค้า โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อต้นพันธุ์สตรอเบอรี่ปลอดโรคในระดับห้องปฏิบัติการ เพื่อย่นระยะเวลาการขยายพันธุ์ในแปลงปลูก และพัฒนาระบบผลิตไหลคุณภาพดีในแปลงขยายพันธุ์ เพื่อใช้ในระดับการค้า งานวิจัยนี้ประสบความสำเร็จในการคัดเลือกสตรอเบอรี่พันธุ์ใหม่คือ พันธุ์พระราชทานเบอร์ 50 ซึ่งได้รับการส่งเสริมให้เป็นพันธุ์บริโภคสดของมูลนิธิโครงการหลวง และยังได้พันธุ์ลูกผสมที่มีลักษณะเหมาะต่อการบริโภคสด การแปรรูปในอุตสาหกรรมอาหาร และผลิตต้นไหลได้มากกว่าพันธุ์ที่เกษตรกรปลูกทั่วไปมูลนิธิโครงการหลวง และไบโอเทค สนับสนุนดร. ณรงค์ชัย พิพัฒน์ธนวงศ์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ศึกษาการผลิตต้นไหลสตรอเบอรี่ที่มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาระบบการผลิตต้นไหลที่ผ่านการรับรองให้เป็นไปตามขั้นตอนที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยขยายต้นพันธุ์ปลอดโรคที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และศึกษาการผลิตต้นไหลคุณภาพดีที่ผ่านการรับรอง ภายในโรงเรือนกันแมลงแบบไหลลอยฟ้า(ไม่ใช้ดินเป็นวัสดุปลูก) สำหรับเป็นต้นแบบของการผลิตต้นไหลในเชิงการค้า เพื่อลดปัญหาเรื่องโรคและแมลง ตลอดจนช่วยอนุรักษ์หน้าดินบนพื้นที่ต้นน้ำ เพราะการผลิตต้นไหลของเกษตรกรบนพื้นที่สูง มักใช้ดินบริเวณแปลงเป็นวัสดุปลูก และขนส่งต้นไหลพร้อมกับหน้าดินลงมาจำหน่ายปีละหลายสิบตัน ทำให้เกิดการสูญเสียหน้าดินบนพื้นที่ต้นน้ำปริมาณมากจากผลการวิจัยทั้ง 2


ที่มา  :  โครงการ ไบโอเทค


สตอเบอรี่

การปลูกสตอเบอรี่

การปลูกสตรอเบอรี่ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ผลขนาดเล็กให้ผลผลิตในหนึ่งฤดู ผลสุกมีรสเปรี้ยวหวาน กลิ่นหอม สีแดง เป็นที่นิยมของผู้บริโภค เป็นพืชอยู่ในวงศ์ Rosaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Fragaria ananassa เป็นไม้พุ่มที่สูงจากผิวดิน 6-8 นิ้ว ทรงพุ่มกว้าง 8-12 นิ้ว ระบบรากดีมาก แผ่กระจายประมาณ 12 นิ้ว ใบแยกเป็นใบย่อย 3 ใบ มีก้านใบยาว ขอบใบหยัก ลำต้นสั้นและหนา ดอกเป็นกลุ่ม มีกลีบรองดอกสีเขียว 5 กลีบ กลีบดอกสีขาว 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียกระจายอยู่เหนือฐานรองดอก ผลเจริญเติบจากฐานรองดอก มีผลขนาดเล็ดคล้ายเมล็ดจำนวนมากติดอยู่รอบเรียกว่า “เอคีน (Achene)”พันธุ์สตรอเบอรี่การปลูกสตรอเบอรี่ในประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือมีมานานพอสมควร แต่ สตรอเบอรี่ที่ปลูกพันธุ์ที่ให้ผลผลิตต่ำ ผลเล็ก สีซีด และช้ำง่ายในปัจจุบันมีพันธุ์ที่เหมาะสมและปลูกได้ผลดี ผลผลิตสูงผลใหญ่ เรียว เนื้อแน่น สีแดงจัด รสชาติดี ใบย่อย ใบกลางเรียวหยักปลายใบใหญ่ ต้นใหญ่ ให้ผลผลิตยาวนาน พันธุ์ดังกล่าวเรียกกันว่าพันธุ์ “ไทโอก้า”ความต้องการสภาพดินฟ้าอากาศดินที่ปลูกสตรอเบอรี่ควรเป็นดินร่วนปนทราย ความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ในระหว่าง 5-7 ซึ่งเป็นดินที่สภาพเป็นกรดเล็กน้อยสตอเบอรี่ต้องการช่วงแสงต่ำกว่า 11 ชั่วโมง และอุณหภูมิหนาว-เย็น ในการติดดอกออกผล ถ้าอุณหภูมิยิ่งต่ำยิ่งทำการติดดอกออกผลดีขึ้นการปลูกเพื่อต้องการผลควรปลูกในเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม โดยต้นอ่อนหรือไหลที่จะปลูกควรมีแขนไหลที่มีข้อติดด้วยการเตรียมแปลงปลูกทำนองเดียวกับแปลงปลูกผักคือ การปลูกต้องใช้ส่วนโคนของลำต้นการติดดอกออกผลเมื่ออุณหภูมิลดต่ำลง และช่วงแสงสั้นเข้าซึ่งประมาณเดือนพฤศจิกายน สตรอเบอรี่จะเริ่มติดดอกและผลจะสุกหลังจากติดดอก 21-25 วัน ผลสตรอเบอรี่ระยะแรกจะมีสีเขียว และค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีขาว เมื่อผลแก่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม มีรสเปรี้ยวปนหวาน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-3.5 ซม.ผลจะสุกมากที่สุดเดือนมีนาคม และจะหมดประมาณเดือนเมษายน - พฤษภาคมการเก็บเกี่ยวเนื่องจากผลสตรอเบอรี่ช้ำง่าย การเก็บเกี่ยวต้องคำนึงถึงระยะทางในการขนส่งสู่ตลาดถ้าระยะทางไกลต้องเก็บผลสุกหรือเห็นสีแดง 50% ซึ่งจะได้ผลแข็งสะดวกแก่การขนส่ง ถ้าระยะทางใกล้ควรเก็บผลสุกหรือสีแดง 75% เวลาที่เก็บ ควรเก็บตอนเช้า เมื่อเก็บแล้วไม่ควรให้ผลถูกแสงแดด ซึ่งจะทำให้ผลเน่าเร็วควรเก็บทุก 1-2 วันการบรรจุและขนส่งเนื่องจากผลสตรอเบอรี่บอบช้ำง่าย โดยเฉพาะถ้าเส้นทางคมนาคมไกลและไม่ดีเท่าที่ควร การบรรจุผลสตอเบอรี่เป็นขั้นตอนที่สำคัญ ภาชะนะที่บรรจุจะต้องไม่มีส่วนที่แหลมคมซึ่งจะทำให้ผลเสียหาย การวางผลจะต้องวางไม่เกินสองชั้น ถ้าพบว่ามีผลเสียควรคัดออกทันทีเพื่อป้องกันผลข้างเคียงพลอยเน่าเสียหายไปด้วยในกรณีเส้นทางคมนาคมลำบากไม่สามารถขายผลสดจำเป็นต้องขายผลช้ำ ต้องตัดหัวขั้วและส่วนที่เน่า แล้วบรรจุในปี๊บที่ภายในรองด้วยถุงพลาสติก ถ้าระยะทางไกลจากตลาดมากหรือจำเป็นต้องเก็บผลสตรอเบอรี่ไว้ค้างคืนการใส่น้ำตาลเพื่อรักษาคุณภาพของผล โดยใช้น้ำตาล 4 กก. ต่อผลสตรอเบอรี่ 10 กก.การปฏิบัติหลังจากสตรอเบอรี่ให้ผลแล้วเมื่อถึงเดือนเมษายนต้นสตรอเบอรี่เริ่มหยุดให้ผล เนื่องจากอุณหภูมิเริ่มสูงขึ้นช่วงแสงเริ่มยาวขึ้น ต้นสตรอเบอรี่จะเริ่มเจริญเติบโตด้านลำต้น กสิกรในพื้นราบมักจะขุดต้นสตรอเบอรี่ทิ้งด้วยสาเหตุดังต่อไปนี้.

1. การดูแลรักษาต้นสตรอเบอรี่ข้ามปี ในสภาพที่อุณหภูมิสูงทำได้ยาก และเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลสูง เนื่องจากต้นสตรอเบอรี่ไม่ทนต่อสภาพอากาศที่ร้อน และสภาพอากาศที่อุณหภูมิสูงโรคของสตรอเบอรี่ระบาดง่าย

2. เพื่อใช้ประโยชน์ที่ดินหลังจากปลูกสตรอเบอรี่หยุดให้ผล เช่น ปลูกผักหรือพืชไร่ซึ่งได้ผลตอบแทนสูงกว่า

3. การที่ทำลายต้นสตรอเบอรี่ เป็นการทำลายแหล่งเพาะเชื้อโรคของสตรอเบอรี่ได้ผลดี


 


เขียนโดย nipaporn 

http://nipaporn613.blogspot.com/





หน้าก่อน หน้าก่อน (1/3) - หน้าถัดไป (3/3) หน้าถัดไป


Content ©