-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 300 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สตรอเบอรี่




หน้า: 1/3


               สตรอเบอรี่ 

               
          ลักษณะทางธรรมชาติ
               
       * เป็นพืชอายุหลายปีแต่นิยมปลูกปีเดียวหรือรุ่นเดียว  หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตหมดแล้วรื้อ แล้วเริ่มปลูกใหม่ ลักษณะพุ่มเตี้ย ลำต้นยาว 2-3 ซม. สูงจากพื้น 15-20 ซม.  กว้าง 10-15 ซม.  ระบบรากยึดลำต้นลึก 25-30 ซม. แต่รากฝอยหากินอยู่ที่บริเวณผิวดิน ชอบดินร่วนปนทราย  มีอินทรีย์วัตถุมากๆ  ระบายน้ำดี  ต้องการน้ำสม่ำเสมอถ้าน้ำขังค้างจะชะงักการเจริญเติบโตและรากเน่าได้  ดังนั้นจึงควรยกแปลงปลูกสูงและอินทรีย์วัตถุมากเพื่อป้องกันน้ำขังค้าง
 
      * ต้องการแสงช่วงกลางวันสั้นแต่ช่วงกลางคืนยาว เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่อากาศเย็นอย่างในเขตภาคเหนือ  แต่ก็มีสตรอเบอรี่ปลูกได้ดีที่ อ.เทพถิตย์ จ.ชัยภูมิ  และ อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา
 
      * ชอบอากาศหนาวถึงหนาวจัด  แต่ไม่ชอบฝน  ถ้าฝนตกลงมาขณะผลเริ่มโตถึงใกล้เก็บเกี่ยวจะเกิดอาการผลเน่า                
 
      * สายพันธุ์ที่เจริญเติบโตดีบนพื้นที่ภูเขาสูง เมื่อนำลงมาปลูกบนพื้นราบเชิงเขาซึ่งไม่ไกลกันนักจะให้ผลผลิตช้าลง    และเช่นเดียวกันที่สายพันธุ์จากพื้นราบเชิงเขาเมื่อนำขึ้นไปปลูกบนภูเขาสูงก็กลับให้ผลผลิตช้าลงด้วย
                

       * เป็นพืชให้ผลผลิตเร็ว ตั้งแต่เริ่มปลูกถึงออกดอก 25-30 วัน อายุผลตั้งแต่ผสมติดถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 25-35 วัน.........ผลแก่มีช่วงเวลาฝากต้นค่อนข้างสั้น (เมื่อผลแก่ต้องเก็บทันที) จึงควรจัดแปลงปลูกแบบเป็นรุ่นๆ  และรุ่นห่างกัน 7-10 วัน   
                

       * ออกดอกจากข้อซอกใบ  ในต้นเดียวกันมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมียที่ผสมกันเองได้

       * ปลูกเพื่อเก็บผลให้ปลูกในช่วงเดือน ก.ย.-ต.ค. หรือหลังปลูก 1 เดือนแล้วเข้าสู่เดือน พ.ย. ซึ่งอากาศเริ่มหนาวเย็น ซึ่งสตรอเบอรี่ก็จะออกดอก.........ส่วนการปลูกเพื่อผลิตไหลขยายพันธุ์ให้ลงมือปลูกในช่วงเดือน พ.ค. ซึ่งเริ่มเข้าสู่หน้าฝนต้นสตรอเบอรี่จะเจริญเติบโตทางต้นดี
                
       * ต้นกล้าที่ปลูกลึก ส่วนลำต้นอยู่ต่ำกว่าผิวดินมาก มีโอกาสเกิดโรคราเน่าโคนเน่าสูง  แต่ถ้าปลูกตื้นโอกาสที่รากจะขาดความชื้น เนื่องจากหน้าดินแห้งทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบสูงเช่นกัน  ดังนั้นการปลูกลึกหรือตื้นต้องพิจารณาภาพหน้าดินให้เหมาะสม          
            

       * การปลูกควรให้ท่อนไหลปลายที่เจริญเติบโตออกจากต้นแม่ชี้เข้ากลางแปลงเพื่อให้ผลสตรอเบอรี่ออกมาอยู่ทางด้านนอกของแปลงซึ่งจะได้รับแสงแดดเต็มที่และสะดวกต่อการปฏิบัติงาน            
                

       * ต้นที่ใบใหญ่กว่าปกติเรียกว่า  งามใบ  จะออกดอกติดผลน้อย  ดังนั้นการบำรุงหลังจากยืนต้นได้หรือก่อนถึงช่วงออกดอก ควรเน้นสารอาหารกลุ่มสร้างดอกบำรุงผลให้มากกว่ากลุ่มสร้างใบบำรุงต้น
                

       *  ใช้สารคลอเมควอต 100-120 ซีซี./น้ำ 100 ล.  ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้น   หลังเก็บเกี่ยว  จะช่วยป้องกันการเกิดไหล.........แต่ใช้  จิ๊บเบอเรลลิน 50-100 ซีซี./น้ำ 100 ล.  ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 ครั้ง  ให้ครั้งแรกหลังย้ายปลูก  30 วัน ให้ครั้งที่  2 หลังจากให้ครั้งแรก  30 วัน  จะช่วยให้เกิดไหลจำนวนมาก
                

      * ใช้พาโคลบิวทาโซล  50-100 ซีซี./น้ำ 100 ล.  ฉีดพ่นพอเปียกใบหลังย้ายปลูก 1 เดือนครึ่ง  ทำให้ลดการเจริญเติบโตทางต้นแต่ถ้าฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบทำให้ไม่เกิดไหล  การให้ทั้ง  2 วิธีทำให้ติดผลดกและมีขนาดผลใหญ่ขึ้น  
                

       * เมื่อต้นสตรอเบอรี่เริ่มติดผลให้ใช้ใบตองเหียง หรือใบตองตึงปูพื้นเพื่อรองรับผลไม่ให้สัมผัสพื้นดินโดยตรง  นอกจากช่วยป้องกันเชื้อโรคแล้วทำให้ผิวสวยสดอีกด้วย  การใช้พลาสติกคลุมแปลง  เมื่อดอกและผลออกมาจะได้รับอุณหภูมิสูงกว่าคลุมแปลงด้วยใบตองตึง..........การใช้พลาสติกคลุมแปลงจึงส่งผลเสียมากกว่าผลดี  เพราะนอกจากสิ้นเปลืองแล้ว  อุณหภูมิใต้พลาสติกยังสูงเหมาะสมต่อการแพร่ขยายพันธุ์ของเชื้อโรคใต้ดินอีกด้วย
 
                 

          สายพันธุ์นิยม                            
               
          สายพันธุ์บริโภคสด :
    
          พันธุ์พระราชทานเบอร์ 60,  70,   80,  50,   20  และเนียวโฮ.....พันธุ์เบอร์ 60 เป็นสายพันธุ์ที่ผสมในไทยโดยตรง จึงเหมาะสมต่อสภาพอากาศของประเทศไทยมากกว่าสายพันธุ์อื่นๆ  ส่วนสายพันธุ์เบอร์ 70 จากญี่ปุ่น กำลังอยู่ในขั้นพัฒนาสายพันธุ์ให้เหมาะสมต่อสภาพอากาศของประเทศไทย
 
         สายพันธุ์แปรรูป :   
          พันธุ์พระราชทานเบอร์ 16  และเซลวา.
                

           การขยายพันธุ์
          เมื่อต้นโตขึ้นให้ผลผลิตแล้ว  ต้นจะมีไหลเจริญยาวออกมาจากต้นแม่  ที่ส่วนปลายไหลจะมี
ต้นเล็กๆเกิดขึ้น (ตะเกียง)  นำต้นเล็กๆ ที่ปลายไหลปลูกลงในถุงพลาสติกบรรจุวัสดุเพาะกล้าปกติ  ใช้ไม้เล็กๆ ดัดเป็นรูปตัว ยู. กดไหลส่วนใกล้ต้นเล็กให้ติดแน่นมั่นคง  ยังไม่ตัดไหลออกจากต้นแม่ แล้ววางไว้ในแปลงปลูกอย่างนั้น  รอจนกระทั่งมีรากงอกจากต้นเล็กแทงทะลุถุงจึงตัดไหลแล้วนำต้นเล็กนี้ไปปลูกต่อไป
                 
          เตรียมแปลงและเตรียมดิน
               
        - ทำแปลงยกร่องแห้งลูกฟูก สันแปลงสูง 30-50 ซม.โค้งหลังเต่า  กว้าง 1-1.20 ม. ช่องทางเดินระหว่างสันแปลงกว้าง 1 ม. ..... สันแปลงสูงๆ ดีกว่าสันแปลงเตี้ยๆ
        - ใส่ปุ๋ยคอก  ยิบซั่มธรรมชาติ  กระดูกป่น  บ่มดินด้วยจุลินทรีย์หน่อกล้วยหรือปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 1-2 เดือนเพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์ในการปรับสภาพโครงสร้างดินและสร้างสารอาหารไว้ก่อน                 

           ระยะปลูก
               
           ระยะห่างระหว่างต้น 25-30 ซม.  ระหว่างแถว 30-40 ซม.  เนื้อที่  1 ไร่ปลูกได้ 8,000-10,000  ต้น
 


                          ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อสตรอเบอรี่       
      
       1.ระยะต้นเล็ก
                
         - ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน  
                
         - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
                
         หมายเหตุ :
               
         ระยะนี้ไม่ควรให้ปุ๋ยเคมีทั้งทางรากและทางใบเพื่อป้องกันอาการ  “งามใบ”  แต่ปล่อยให้ต้นได้รับสารอาหารจากดินที่ใส่ไว้เมื่อช่วงเตรียมแปลง
        
      

       2.ก่อนออกดอก
                
         ทางใบ :
                
       - ให้น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเริม 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ช่วงเช้า  1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
                
       - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
                
         ทางราก :
               
         ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง +  8-24-24 (1-2 กก.)/ไร่  ด้วยการละลายน้ำแล้วรดโคนต้น
                
         หมายเหตุ :
                
         เริ่มให้หลังจากต้นกล้ายืนต้นได้  จะช่วยให้ต้นไม่เกิดอาการงามใบ
 
      
 
       3.บำรุงผลเล็ก - เก็บเกี่ยว
                
         ทางใบ :
                
       - ให้น้ำ 100 ล. + 21-7-14 (200 กรัม) + ไคโตซาน 100 ซีซี. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + ไคโตซาน 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.    ฉีดพ่นพอเปียกใบ  2-3 รอบ  ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
                
       - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3  วัน 
                
         ทางราก :
                  
         ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14 (1-2 กก.)/ไร่/15-20 วัน  ด้วยการละลายน้ำแล้วรดโคนต้น
         หมายเหตุ :                
       - เริ่มให้หลังจากเริ่มผสมติดเป็นผล
                
       - ถ้าต้นติดผลดกมากควรให้ฮอร์โมนน้ำดำ กับ  แคลเซียม โบรอน. อย่างละ 1 ครั้งเพื่อทำให้ต้นสมบูรณ์ตลอดช่วงที่มีผลอยู่บนต้น
                
       - ก่อนเก็บเกี่ยว 2-3 วัน  ถ้าให้  “มูลค้างคาวกัด”  1 ครั้งจะช่วยให้สีจัดเต็มผลและรสชาติดีขึ้น
                
       - ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง
        








หน้าถัดไป (2/3) หน้าถัดไป


Content ©