-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 190 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

อาชีพเสริม11





กระเป๋าสานพลาสติก เศษขยะสร้างชีวิต


โดย...อัสวิน ภฆวรรณ


เชื่อหรือไม่ สายพลาสติกที่ใช้รัดหีบห่อ บรรจุภัณฑ์สินค้า วัสดุเหลือใช้ที่ถูกทิ้งขว้าง ได้สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านกลุ่มจักรสานบ้านควนเคี่ยม ต.ฝาละมี อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง เดือนละเกือบ 1 แสนบาท

นางศิริพร ย้อยอัด  ประธานกลุ่มจักสานกระเป๋าพลาสติกบ้านควนเคี่ยมบอกว่า กระเป๋าพลาสติกที่ผลิตขึ้นมา เป็นแบบที่ใช้สำหรับใส่สินค้าประเกษตร  ซึ่งได้รับความนิยมมาก ส่งขายประมาณ 4,000  ชิ้นต่อเดือน บางช่วง ก็มีคำสั่งซื้อมา จนผลิตกันไม่ทัน ราคาสินค้ามีตั้งแต่  20 -550 บาท โดยผลิตภัณฑ์ของกลุ่มมีกว่า 10 รายการ อาทิ  กระเป๋าแม่ค้า กระเป๋าหยัก  กระเป๋าถือใบเล็ก กระเป๋าปิคนิก กระเป๋าสะพาย ตะกร้าใส่เสื้อผ้า  ซองใส่เอกสาร ที่ใส่ปากกา และกล่องทิชชู่ 


“ด้านการตลาด เราส่งไปขายต่างประเทศถึง 80 %     มีมาเลเซีย สิงคโปร์ และเกาหลี  ส่วนที่ต่างจังหวัดนั้นยอดจำหน่าย ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์     มีจ.กระบี่ สงขลา ตรัง ยะลา ปัตตานี และอีก 10 % ที่เหลือ   ก็ส่งขายภายในจังหวัด ตลาดจนลูกค้าที่ซื้อเป็นของฝากของขวัญ   กระเป๋าที่ยอดนิยมสูงสุด จะเป็นกระเป๋าแฟชั่น กระเป๋าปิคนิค  บอกตรง ๆ  จักสานกระเป๋า  มีอนาคตที่ดี โดยเฉพาะมาเลเซีย มาสั่งซื้อคราวละ 3-4 หมื่นชิ้น”

ช่วงเวลาเพียง 4 ปี จากที่ชาวบ้านควนเคี่ยม สานกระเป๋าพลาสติกเป็นอาชีพเสริม แต่วันนี้หลายรายได้ยึดเป็นอาชีพหลัก จากรายได้ที่น่าพอใจ


“ช่วงแรกไม่มีเงินทุนจากไหนมาสนับสนุนก็รวมตัวออกทุนกันเอง ต่อมาองค์การบริหารส่วนตำบลฝาละมี   ก็ได้จัดสรรงบประมาณให้มาจำนวนหนึ่งเป็นการช่วยเหลือ  แลัวก็มีการก่อตั้งกลุ่มขึ้นอย่างเป็นทางการ ในปี 2549   และเวลาไล่เลี่ยกันก็ได้จดทะเบียนเป็นสินค้าโอทอป   ได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.20) / 2546 จากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดพัทลุงในปี 2551”


ศิริพร บอกว่า ช่วงเริ่มต้นรวมกลุ่ม ถือเป็นบทท้าทายที่สำคัญที่สุด จากที่ดำเนินการกันในรูปแบบเก่า ๆ    กระทั่งอบต.ฝาละมี   สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมุนษย์จังหวัดพัทลุง   และศูนย์พัฒนาสังคมที่ 34 จังหวัดพัทลุง   ได้เข้ายื่นมือเข้ามาให้การช่วยเหลือสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเงินงบประมาณ   การส่งเสริมให้ความรู้ของผลิตภัณฑ์  ตลอดจนถึงพัฒนารูปแบบต่าง ๆ  เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของตลาด   และประการสำคัญคือการพัฒนาการตลาด จนทำให้ปัจจุบัน สมาชิกของกลุ่ม จำนวน 32 คน สามารถยืนหยัดอยู่ด้วยลำแข้งลำขาตนเอง


ที่มา  :  บางกอกโพสต์
 









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (1195 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©