-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 667 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

อาชีพเสริม7








 

เลี้ยงไส้เดือนแดงตัวละบาท อาชีพเสริมรายได้งาม

ไส้เดือนแดง สัตว์เศรษฐกิจอีกประเภทหนึ่ง ที่นอกจากจะช่วยย่อยสลายขยะให้เป็นปุ๋ยชั้นดีแล้ว ยังเป็นอาหารเสริมสำหรับเลี้ยงสัตว์อีกด้วย


โดย...ชินวัฒน์  สิงหะ


ไส้เดือนแดงตัวละ 1 บาท สร้างเงิน ชุมชนบรมไตรโลกนารถ 21 เทศบาลนครพิษณุโลกผลิตขาย ผลพวงจากโครงการขยะเหลือศูนย์ หรือ ZERO WASTE PROJECT ที่ทำธนาคารขยะ คัดแขกขยะขายได้ ขยะอาหารเศษผลไม้ จากครัวเรือน ที่นำมาทำปุ๋ยหมักและเลี้ยงไส้เดือนแดงอาชีพเสริมสร้างรายได้ให้กับเกษตรในช่วงหน้าแล้ง

เชาวรัตน์  คล้ายสอน ประธานชุมชนบรมไตรโลกนารถ 21 หนึ่งใน 54 ชุมชนของเทศบาลนครพิษณุโลก เล่าว่า ชุมชนบรมไตรโลกนารถ 21 เป็นชุมชนเมืองในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก ที่ตั้งอยู่บนถนนบรมไตรโลกนารถ มีประชากร 420 คน จาก 420 ครัวเรือน สมาชิกชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย รับจ้าง และรับราชการ ชุมชนได้ริเริ่มโครงการธนาคารขยะมาตั้งแต่ปี 2542 จัดการคัดแยกขยะมูลฝอยในชุมชน แบ่งเป็นขยะขายได้ และขยะเศษอาหาร ในชุมชนจะไม่มีถังขยะให้เห็นเลย ในแต่ละครัวเรือน จะมีระบบคัดแยกขยะ และนำขยะขายได้มาขายที่ธนาคารชุมชนที่ใช้บ้านตนเป็นที่ตั้ง ในทุกวันอาทิตย์ ส่วนขยะที่ย่อยสลายไม่ได้ ขยะมีพิษ ก็จะมีรถขยะของเทศบาลนครพิษณุโลกมาเก็บสัปดาห์ละ 1 วัน ในปี 2550 ได้รับคัดเลือกเป็นชุมชนธนาคารขยะ  ปี 2552 ได้รับโล่ชุมชนปลอดขยะจากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม


เชาวรัตน์ เล่าต่อว่า ไส้เดือนแดง เป็นผลประโยชน์ต่อเนื่องมาจากการทำโครงการขยะเหลือศูนย์ หรือ ZERO WASTE PROJECT  ของชุมชน ที่ดำเนินการมาต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยช่วงแรก เริ่มเมื่อปี 2544 มีผู้นำระดับสูงของนครเวียงจันทร์ ประเทศลาว มาเยี่ยมชมธนาคารขยะของเรา และนำไปเปิดธนาคารขยะในนครเวียงจันทน์ และเชิญตนไปเป็นวิทยากร พร้อมกับวงษ์พานิชกรุ๊ป และคณะผู้บริหารของเวียงจันทน์สปป.ลาวได้มอบไส้เดือนแดงให้ชุมชนมาจำนวนหนึ่ง โดยนำเข้ามาจากอินเดีย ให้นำมาเพาะเลี้ยง ตนและชุมชนก็ได้เริ่มการเพาะเลี้ยงไส้เดือนแดงตั้งแต่นั้นเรื่อยมา

 

สำหรับการเลี้ยงไส้เดือนแดงของชุมชนบรมไตรโลกนารถ 21 ได้ใช้ที่ว่างในชุมชน ที่ตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้การคัดแยกขยะเป็นสถานที่เลี้ยง วิธีการเลี้ยง ได้เลี้ยงในบ่อคอนกรีต เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร สูง 60 เซนติเมตร เทฝารองก้นด้วยคอนกรีต เจาะรู ใส่ท่อระบายน้ำ ใช้กาบมะพร้าวฉีกเป็นฝอย วางรองพื้นประมาณ 2 เซนติเมตร ใส่มูลวัว 1 กระสอบปุ๋ย ผสมดิน 1 ส่วน ปล่อยไส้เดือนแดงลงในบ่อคอนกรีตบ่อละ 500 ตัว แล้วนำเปลือกผัก ผลไม้ ที่ชอบมากคือ เปลือกแตงโม ขนุน มะม่วง มาไส้เลี้ยงไส้เดือนแดง และเลี้ยงไว้ประมาณ 3 เดือน ไส้เดือนแดง 1 ตัว สามารถออกไข่และผลิตไส้เดือนแดงได้ประมาณ 100 ตัว จากนั้น ก็สามารถจับมาขายได้ ปัจจุบันได้ราคาตัวละ 1 บาท

ไส้เดือนแดง ที่ชุมชนบรมไตรโลกนารถ 21 เพาะเลี้ยงนั้น ลำตัวมีลักษณะเป็นท่อคล้ายหลอดกาแฟ ซึ่งเต็มไปด้วยจุลินทรีย์ที่มีฤทธิ์ในการย่อยสลายขยะอินทรีย์ให้ออกมาเป็นปุ๋ยชั้นดี เหมาะสำหรับพืชทุกชนิด ส่วนตัวไส้เดือนเองนั้น มีโปรตีนสูงมาก มีผู้มาซื้อนำไปเลี้ยงไก่ชน ให้ขนเงาวาว เลี้ยงปลาตู้ ปลามีสีสวยงาม โตเร็ว นำไปเลี้ยงกบเลี้ยงหมู บรรเทาอาการโรคท้องอืดได้


นายเชาวรัตน์ กล่าวว่า ไส้เดือนแดงถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่น่าจับตามอง โดยเฉพาะชุมชนที่ริเริ่มทำโครงการปลอดขยะ สามารถนำไส้เดือนแดงไปเลี้ยงเพื่อจำกัดขยะอินทรีย์ที่เหลือใช้ นอกเหนือจากได้ปุ๋ยหมักแล้ว ยังสามารถจำหน่ายไส้เดือนสร้างรายได้ได้อีก เราเคยขายครั้งเดียวได้เงิน 70,000 บาท ตอนนั้นขายตัวละ 1 บาท ก็นำไส้เดือนมานั่งนับดูชั่งน้ำหนัก 1 ขีด ได้ 500 ตัว สรุปราคา 1 ขีด 500 บาท หรือตกกิโลกรัมละ 5,000 บาท ส่วนปัจจุบัน ก็ยังคงจำหน่ายไส้เดือนแดงได้เรื่อย ๆ มีผู้สนใจมาขอซื้อครั้งละ 500-1,000 บาท


ผู้ใดสนใจซื้อและสอบถามวิธีการเพาะเลี้ยง มาได้ที่ชุมชนบรมไตรโลกนารถ 21 โทรศัพท์ 086-7340880


ที่มา  :  บางกอกโพสต์









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (2355 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©