-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 469 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

อาชีพเสริม6







 

ตั้งกลุ่มแปรรูปมะม่วง สร้างรายได้กว่า 10 ล้าน ต่อปี


กลุ่มแม่บ้านพิจิตรร่วมกลุ่มแปรรูปมะม่วง เพิ่มมูลค่าเป็นส้มแผ่นจำหน่ายสร้างรายได้ปีละกว่า 10 ล้านบาท

โดย สิทธิพจน์ เกบุ้ย


ปัญหาใหญ่ของเกษตรกรผู้ปลูกต.หอไกร อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร ในช่วงฤดูออกผลผลิตจะออกพร้อมกันเป็นจำนวนมากทำให้ล้นตลาด ปัญหาตามมาคือราคาตก และผลผลิตบางส่วนด้วยคุณภาพ หรือ มีตำหนิ ทำให้สามารถส่งขายหรือส่งออกได้ ในที่สุด ณรงค์ศักดิ์  หอมมาลัย นายอำเภอบางมูลนาก จ.พิจิตร จึงเสนับสนุนกลุ่มแม่บ้านที่รวมตัวกันตั้งเป็นกลุ่มแปรรูปวัสดุการเกษตร ( มะม่วงแผ่น )ขึ้นมาเพื่อแปรรูปมะม่วงให้เกิดมูลค่าเพิ่มในตลาด

ทัศนีย์ มางาม อายุ 50 ปี ประธานกลุ่มแปรรูปวัสดุการเกษตรต.หอไกร  ซึ่งมีสมาชิกกลุ่ม  15 คน ที่ล้วนเป็นแม่บ้าน นอกจากนี้ยังมีเด็กๆที่เป็นลูกหลาน ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงโรงเรียมปิดเทอม ก็หันมารับจ้างทำงานหารายได้เสริมเป็นค่าขนม ซึ่งแต่ละคนทำงานวันละ 4-6 ชั่วโมงแบบสบายๆ ใกล้ชิดผู้ปกครอง แต่มีรายได้คนละ 100 -200 บาท ทุกวัน


เด็กๆต่างบอกว่าดีกว่าเอาเวลาว่างไปวิ่งเล่นหรือไปเล่นเกมส์ เช่นเดียวกับผู้ปกครองที่หันมาใช้เวลาว่างหลังฤดูกาลเกษตรแปรรูปมะม่วงเป็นส้มแผ่นจำหน่าย  ซึ่งใน อ.บางมูลนาก มีกลุ่มลักษณะเช่นนี้กว่า 10 กลุ่ม ที่ทำธุรกิจแปรรูปมะม่วงเป็น ส้มแผ่น หรือ ส้มลิ้ม เป็นสินค้าโอท็อป ออกขายสร้างรายได้เข้าจังหวัดพิจิตรปีละกว่า 10 ล้านบาท

"ที่ผ่านมาชาวบ้านที่ปลูกมะม่วง ประสบปัญหาราคาตกต่ำทุกปี เนื่องจากผลผลิตออกมาล้นตลาด ดังนั้นจึงชวนกันมาตั้งกลุ่มแปรรูปมะม่วงเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เพราะเชื่อว่ามันเป็นหนทางเดียวที่เราจะลืมตาอ้าปากได้" ทัศนีย์เล่าถึงที่มาของผลิตภัณฑ์


นอกจากนี้ทุกปีจัดกิจกรรม“เทศกาลส้มลิ้มของดีบางมูลนาก”โดยปีนี้กำหนดจัดขึ้นวันที่ 1-5 เม.ย. 2553 ณ สนามหน้า ร.ร.อนุบาลบางมูลนาก “ราษฎร์อุทิศ”ทาง เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และสินค้าโอท็อป โดยภายในงานจะจัดให้มีร้านมัจฉากาชาด , การประกวดธิดาส้มลิ้ม ,การประกวดนกหัวจุก ,ประกวดปลากัดสวยงาม และอื่นๆอีกมากมาย

จึงขอเชิญชวนท่านที่สนใจไปร่วมงาน ดังกล่าว รับรองว่างานนี้ไม่ผิดหวังกับผลิตภัณฑ์ดีๆฝีมือชาวบ้าน ราคาถูก


ที่มา  :  บางกอกโพสต์ 

*******************************************************************************************************************************************************


ภาวิณี สุดาปัน

อาชีพใหม่หลังวัยเกษียณราชการ ของ พ.ต.อ.วัชรวุธ สุทธิพงษ์
ทำซอสแครอต แชมพูมะกรูด ขายรายได้ดี


ปัจจุบันนี้ กระแสนิยมการบริโภคสินค้าต่างชาติกำลังมาแรง ทั้งที่ผลิตภัณฑ์แต่ละอย่างก็มิได้มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันแม้แต่น้อย แถมราคาแพงอีกต่างหาก แต่ผู้บริโภคก็ยังนิยมซื้อหานำมาใช้อยู่เสมอๆ อย่างเช่น ผลิตภัณฑ์แชมพูสระผม ครีมนวดผม ครีมบำรุงเส้นผม สบู่ ลูกกลิ้งดับกลิ่นกาย เป็นต้น ทั้งๆ ที่ปัจจุบันนี้ผลิตภัณฑ์ของบ้านเราก็มีการผลิตพืชสมุนไพรจากธรรมชาติออกมาจำหน่ายกันมากมาย แต่คนไทยไม่ค่อยให้ความสำคัญกันแม้แต่น้อย ถึงใช้ก็มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้น กรณีนี้ผู้เขียนก็มิอาจรู้ได้ว่าเป็นเพราะเหตุใดกัน! คงต้องนึกดูเอาเองแล้วกันว่าเหตุอันที่บังเกิดผลมันมาจากไหน!

ผู้เขียนเคยไปคุยกับผู้หญิงวัยสูงอายุท่านหนึ่ง อายุอานามก็ราวๆ สัก 64 ปี สังเกตเห็นเป็นประจำตอนเช้าเขาจะเอาน้ำที่ได้จากการซาวข้าวใส่ขันไว้ทุกวัน

น้ำซาวข้าวคือ น้ำที่ได้จากการหมักข้าวเหนียวไว้นึ่งกิน หมักไว้สัก 1 คืน จะช่วยให้นึ่งข้าวสุกเร็วขึ้น แต่ถ้าเป็นข้าวเหนียวใหม่หมักไว้สัก 2-3 ชั่วโมง ก็พอแล้ว ถ้านานกว่านั้นมีหวังได้กินข้าวเหนียวแฉะแน่ๆ

ด้วยความสงสัยก็เลยถามไป ได้ความว่า น้ำซาวข้าวขุ่นๆ นี้ ฉันเอาไว้สระผม (ไอ้เราก็งงเลย) ใช้ได้จริงๆ หรือป่าว เขาบอกว่าใช้มาตั้งแต่เกิดแล้ว ไม่เห็นเป็นอะไรเลย (ผู้เขียนก็ทึกทักในใจว่า อย่างนี้ก็ไม่ต้องเสียสตางค์ซื้อแชมพูสระผมน่ะซิ แหม! ประหยัดจริงๆ)

"ลักษณะเส้นผมเขาแลดูก็สวยดีน่ะ มีผมหงอกขึ้นประปราย ไม่เหนียวด้วย"  คนสูงอายุบอก

แถมยังบอกอีกว่า เวลาแปรงฟันนะ ไม่ใช้หรอกยาสีฟัน แต่จะใช้ใบข่อยสีฟันแทน แต่เดี๋ยวนี้ไม่ได้ใช้แล้ว...ทำไมละ? ยังจะถามอีก! เขาก็เลยอ้าปากให้ดู ผู้เขียนก็เลยถึงบางอ้อเลย ก็นับฟันเขาแล้วไม่มีสักซี่เลย แล้วจะแปรงฟันได้ไงกัน "ถามโง่ๆ" โดนเข้าอีกหนึ่งดอก ผู้เขียนได้แต่ยิ้มแฮ่ๆ (วันนี้ซวยเลยตรู!) เล่ามาถึงตรงนี้กำลังเพลินเลย ต้องเบรกไว้ก่อนเดี๋ยวจะยาว มาเข้าเนื้อหากันดีกว่า

นำเรื่องด้วยการบำรุงดูแลเส้นผมมาก็มากโข นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านฉบับนี้มีบุคคลตัวอย่างมานำเสนอ (ยืมคำพูดมาใช้คงไม่ว่ากันนะคะ) คือ พ.ต.อ.วัชรวุธ สุทธิพงษ์ ปัจจุบันนี้ ท่านเกษียณอายุราชการแล้ว แต่ก่อนเคยทำงานเป็นตำรวจ สังกัดกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) นานกว่า 20 ปี เริ่มเข้ารับราชการตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2528 ปัจจุบันนี้ หันมาทำผลิตภัณฑ์แชมพูสมุนไพรมะกรูด ภายใต้ยี่ห้อ "เชสท์" อย่างเต็มตัว แต่ในความเป็นจริงแล้ว ท่านทำอาชีพนี้มาเป็นเวลาหลายปีเหมือนกัน เริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา รับราชการด้วยทำอาชีพนี้ไปด้วย ทำแบบควบคู่กันไป มีทั้งรายได้หลัก และรายได้เสริม

พ.ต.อ.วัชรวุธ เล่าว่า "แต่ก่อนตนทำแชมพูมะกรูด และครีมนวดผมมะกรูดเพียง 2 อย่าง สาเหตุที่สนใจทำมันมีมูลอยู่ว่า ตนน่ะเคยเป็นนักเรียนโท (ปริญญาโท) มาก่อน เคยไปเรียนอยู่ประเทศฟิลิปปินส์ ส่วนใหญ่นักศึกษาที่นั่นจะเรียนเกี่ยวกับการเกษตร เลยมีโอกาสได้สัมผัสบรรยากาศตรงนั้นมา พอเรียนจบมาตนก็เข้ารับราชการ ที่ กอ.รมน. ชีวิตในวัยทำงานตนมีโอกาสได้ออกไปต่างจังหวัด ไปสัมผัสกับสินค้าตามหมู่บ้านที่อยู่ในชุมชน"

"ศึกษาไปเรียนรู้ไปด้วย เมืองไทยมีอะไรหลายอย่างดีเยอะ น่าจะนำมาใช้เป็นประโยชน์ได้ เพียงแต่นำมาปรับให้มันเข้าที่เข้าทาง จากนั้นก็เน้นเรื่องคนไทยใช้สินค้าไทย เงินทองจะได้ไม่รั่วไหล ทำอย่างนี้ คิดอย่างนี้ มาตั้งนานแล้ว ตนก็เริ่มทำตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2534 เรื่อยมา" พ.ต.อ.วัชรวุธ เล่า

พ.ต.อ.วัชรวุธ เล่าว่า "เริ่มแรกที่ทำแชมพูมะกรูด กับครีมนวดผมมะกรูดนั้น เพราะว่าตนประสบปัญหาเรื่องผมร่วงหล่นบนหมอน อาบน้ำเสร็จหวีผมก็ติดมากับหวี เลยคิดหาวิธีที่จะแก้ไขปัญหานี้ จึงศึกษาจากเอกสารตำราต่างๆ แล้วจำเอาสูตรมาทำเอง ทำสูตรเองปรุงเอง ตนก็ลองใช้เองด้วย จากนั้นเห็นว่าดีก็เลยนำไปแจกเพื่อนร่วมงาน ญาติ ผู้หลักผู้ใหญ่ ให้ลองใช้ดู จนเพื่อนๆ ต่างบอกกันว่า ไม่ต้องทำมาแจกแล้ว ทำแล้วนำไปจำหน่ายได้เลย จากนั้นก็ทำใช้เองด้วยทุกวัน ผมจะขาวหน่อยก็ไม่ต้องไปโกรก ไม่ต้องย้อมสี ปล่อยไปตามธรรมชาติดีที่สุด จนอาการคันก็หมดไป และทำจำหน่ายด้วย แชมพูมะกรูดจะช่วยให้ผมดำ ชะลอไม่ให้ผมขาว ไม่ให้ร่วงมาก แต่ก็มีบางคนใช้แชมพูมะกรูดไม่ถูกบ้าง"

ปัจจุบันนี้ พ.ต.อ.วัชรวุธ ทำผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ ที่เป็น "ซอสแครอต" ภายใต้ยี่ห้อเชสท์เช่นกัน จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ตั้งแต่แชมพูแล้ว ที่ พ.ต.อ.วัชรวุธ ทำซอสแครอตขึ้นมานี้ ก็เพราะว่าตอนเด็กๆ เป็นคนไม่ชอบกินผักอยู่แล้ว แครอตมันมีสารอาหารอยู่ในส่วนผสม จึงมีความคิดที่จะทำซอสแครอต จากการสังเกตตามท้องตลาดจะมีเฉพาะซอสมะเขือเทศ และซอสพริก ส่วนซอสแครอตนั้นหายาก จึงศึกษาสูตรวิธีการปรุงจากหนังสือ ตำรา เอกสารต่างๆ บ้าง ลองผิดลองถูกมา ปรุงรสมา 5 ครั้ง รสชาติแต่ละครั้งก็ไม่เหมือนเดิมเลย ตนหัดทำมาเป็นระยะเวลา 6 เดือน จนได้สูตรของตัวเองขึ้นมา ซึ่งซอสแครอตสามารถนำมาจิ้มอาหารได้หลายอย่าง ทั้งกินกับไข่เจียว ไข่ดาว ไส้กรอก ลูกชิ้น แม้แต่น้ำจิ้มเนื้อย่างก็นำมาใช้ได้ ก่อนที่ พ.ต.อ.วัชรวุธ จะทำขาย ก็ทำให้เพื่อนๆ และญาติลองชิมกันก่อน จากนั้น พ.ต.อ.วัชรวุธ จึงนำมาจำหน่าย ลักษณะเด่นของผลิตภัณฑ์คือ จะนิยมนำวัสดุเครื่องปรุงที่เป็นของไทยๆ มาเป็นส่วนผสม จะคำนึงถึงเรื่องความสะอาดเป็นสำคัญ และคุณภาพของส่วนผสมเป็นอันดับแรก นึกถึงตอนที่เรากิน คนอื่นเขาก็ต้องการกินเหมือนเราเช่นกัน

กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ พ.ต.อ.วัชรวุธ ต้องผ่านอุปสรรคต่างๆ มากมาย ล้มลุกคลุกคลานมานักต่อนัก แรกๆ เจ้าตัวบอกว่ารู้สึกท้อเหมือนกัน เพราะว่า พ.ต.อ.วัชรวุธ ไปซื้อมะกรูดมาช่วงหน้าร้อน ซึ่งเป็นช่วงที่มะกรูดไม่มีน้ำ แถมราคายังแพงอีกด้วย โชคดีที่มีเพื่อนเปิดร้านค้า จึงหาซื้อมะกรูดที่ราคาไม่แพงมากจากเพื่อน ทำให้สามารถต่อสู้มาจนถึงทุกวันนี้ อาชีพนี้ทำกันแบบธุรกิจครอบครัว มีลูกน้องมาช่วยบ้าง ลูกบ้าง ไม่ได้จ้างแรงงาน จนปัจจุบันนี้มีลูกค้าติดกันมากเหมือนกัน ผลิตภัณฑ์ "เชสท์" มีจำหน่ายที่ตลาดปีนัง คลองเตย ร้านศรีอยุธยา เป็นร้านขายเครื่องสำอาง

หากท่านใดสนใจ สอบถาม พ.ต.อ.วัชรวุธ ได้ที่ โทร. (081) 926-1144, (086) 998-6644 ยินดีตอบทุกคำถาม หรือหากใครสนใจที่จะหัดทำไว้กินเอง ก็สามารถสอนได้ แต่ต้นทุนในการทำแต่ละครั้งจะแพงหน่อยนะ

สุดท้าย พ.ต.อ.วัชรวุธ ฝากถึงผู้บริโภคไว้ว่า "เราคนไทยใช้ของไทย ต้องเลือกนิดหนึ่ง กรรมวิธีในการผลิตสะอาดหรือไม่ กระเทียมใช้ของไทยจะดีกว่า เกลือจะให้ดีต้องเป็นเกลือไอโอดีน น้ำส้มสายชูเป็นยี่ห้ออย่างดี ถ้าเป็นมะกรูดเน่าก็ให้เอาทิ้ง เลือกเอาเฉพาะของดีๆ มาใช้"

ไทยต้องช่วยไทย บริโภคสินค้าไทยนะคะ



ที่มา  :  เทคโนโลยีชาวบ้าน


*************************************************************************************************************************************************************









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (2007 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©